วิธีอัพเกรดคอมพิวเตอร์

ทำความรู้จักคอมพิวเตอร์ก่อน

Computer


การจะปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ เราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์เสียก่อนว่ามีอะไรบ้าง และอะไรสามารถเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมได้บ้าง เรามาดูส่วนประกอบหลัก ของคอมพิวเตอร์กันก่อน

ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

  • เมนบอร์ด (Main Board) ส่วนประกอบหลัก
  • ซีพียู (CPU: Central Processing Unit) หน่วยประมวลผล หรือสมองของคอมพิวเตอร์
  • ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) หน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรม
  • แรม (RAM) หน่วยความจำ ช่วยในการประมวลผล

เมนบอร์ด (Main Board)

มีหลากหลายรุ่น และมีความแตกต่างกันไป ดังนั้น การเลือกซื้อ การอัพเกรด จะต้องมีการตรวจสอบให้ดีก่อนว่า คอมพิวเตอร์ของเรา รองรับรุ่นไหนบ้าง ปกติเราจะไม่อัพเกรด Main Board เพราะถ้าเปลี่ยนจะกระทบกับชิ้นส่วนอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

ซีพียู (CPU) 
ให้จำง่ายๆ ดังนี้คือ CPU-i3, CPU-i5, CPU-i7 และ CPU-i9 ยิ่งตัวเลขหลังยิ่งมาก (CPU-i9) หมายถึง การทำงานจะเร็วมากกว่าตัวเลขน้อยอย่างเช่น CPU-i3 แต่อย่างไรก็ตาม ก็จำเป็นจะต้องดูในส่วนของรุ่นอีกว่า เป็น CPU ที่มีการพัฒนาถึงรุ่่นไหน (Generation) ยิ่งใหม่ ยิ่งเร็วกว่า เช่น Gen 10, Gen 12 เป็นต้น

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
หน่วยความจำ ซึ่งจะมีหัวอ่าน เป็นอุปกรณ์ที่ล้าสมัย ปัจจุบันใช้ SSD (Solid State Drive) ซึ่งมีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลมาก อย่างไรก็ตาม SSD ก็มีหลายรุ่นและความเร็วก็ตามกันด้วยเช่นกัน ตัวอย่างรุ่นที่นิยมอัพเกรดคือ SSD M2 

แรม (RAM) 
หน่วยความจำช่วยในการประมวลผล ยิ่งมีจำนวน RAM มากและรุ่นใหม่ จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากขึ้น แรมมีหลากหลายรุ่นเช่นเดียวกัน เวลาเลือกซื้อ ต้องตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของเราก่อนว่า รองรับรุ่นไหน และสามารถเพิ่มได้มากน้อยเท่าไหร่ ปกติ หน่วยจะเป็น GB

ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ที่นิยมอัพเกรด 

แรม (RAM) 

แนะนำให้ติดตั้งอย่างน้อย 4-8 GB ขึ้นไป ถ้าจะให้ดีแนะนำให้ติดตั้ง 16GB การอัพเกรด เราจำเป็นจะต้องตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของเราก่อนว่า สามารถรองรับการเพิ่มแรมได้มากน้อยแค่ไหน และเป็นแรมประเภทใด ตัวอย่างเช่น DDR4, DDR5 เป็นต้น คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะสามารถติดตั้งแรมได้ 2 ชิ้นพร้อมกัน และควรเป็นแรมประเเภทเดียวกัน รุ่นเดียวกัน

คอมพิวเตอร์บางรุ่น โดยเฉพาะ Notebook อาจจำเป็นจะต้องถอดของเก่าออก และเพิ่มของใหม่เข้าไป ทั้งนี้เนื่องจากช่องในการเสียบแรม มักจะมีจำกัด

ดิสก์ (Disk)

อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรม ปัจจุบัน มีการแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ฮาร์ดดิสก์ และ SSD แนะนำว่า ให้ใช้ SSD เป็นหลัก เพราะเป็นดิสก์รุ่นใหม่ ทำงานได้เร็วกว่า ฮาร์ดดิสก์แบบเก่ามาก  แค่เปลี่่ยนก็จะเห็นแบบทันตาเห็นเลยว่าเร็วขึ้น

ในส่วนของ เมนบอร์ด และ ซีพียู ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถเปลี่่ยนได้ทั้งหมด แต่ขอบอกว่า "ไม่คุ้ม" เพราะถ้าเปลี่ยนเมนบอร์ด ส่วนประกอบอื่นๆ ที่ใช้งาน ก็อาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าต้องการ แนะนำให้ซื้อเครื่องใหม่เลยจะดีกว่า

วิธีอัพเกรดคอมพิวเตอร์

สำหรับมือใหม่ แนะนำว่า ให้ติดต่อร้านค้าเพื่อเปลี่ยนให้โดยตรงจะดีกว่า ทั้งนี้้ ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ อาจสามารถทำการอัพเกรดได้ด้วยเอง โดยเฉพาะการเพิ่มในส่วนของ แรม (RAM) ส่วน หน่วยความจำอย่าง SSD จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนสายในการเชื่อมต่อ ซึ่งอาจจะยุ่งยากไปสำหรับมือใหม่

ส่วนค่าใช้จ่ายในการอัพเกรด แนะนำแบบให้เข้าใจง่ายๆ คือ กรณีค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดคอมพิวเตอร์มีมูลค่าเกิน 30-40% ของราคาเครื่อง แนะนำให้เปลี่ยนเครื่องใหม่จะดีกว่า และขายเครื่องเก่าออกไป ทั้งนี้ เนื่องจากอุปกรณ์อื่นๆ ที่เป็นของเก่า อาจมีอายุการใช้งานที่เหลือน้อย ส่งผลให้อาจต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ในระยะเวลาอันสั้น

ตรวจสอบให้ดี หลังการอัพเกรด

แนะนำให้ตรวจสอบสเปคของคอมพิวเตอร์อีกครั้งว่า มีการอัพเกรดครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้ จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลังว่า ถูกหลอก วิธีการตรวจสอบให้พิมพ์คำว่า "System Information" ในช่อง Search ของ Windows จากนั้น เราดูในหัวข้ออุปกรณ์ที่เราทำการอัพเกรด

กรณีเปลี่ยนดิสก์ สามารถเปิดโปรแกรม Windows Explorer (กดปุ่ม Windows Logo + E)  จากนั้นก็เลื่อนมาดูด้านล่าง ให้ดู Drive C: หรืออาจมี D: ว่ามีความจุเท่าไหร่

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ